สมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนนคำตอบของการวิจัย ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. ทดสอบได้ด้วงวิธีทางวิทยาศาสตร์ หรือสถิติ
โดยต้องทำการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะทำวิจัย จนเกิดความชัดเจนในปัญหา และเห็นแนวทางของคำตอบว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใดก่อนคาดคะเนคำตอบ
สมมุติฐานการวิจัย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สมมุติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง กับสมมุติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง
สมมุติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง คือสมมุติฐานที่เขียนระบุทิศทางของตัวแปรไว้อย่างชัดเจน เช่น
•ก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าหลังเรียน
•นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ
•นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
สมมุติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง คือสมมุติฐานที่ ไม่ระบุทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปรเพียงแต่บอกว่าแตกต่างกันหรือสัมพันธ์กันเท่านั้น เช่น
•นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน
•นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
•นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาแตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด
การเขียนสมมุติฐานการวิจัยจะเขียนแบบมีทิศทางหรือไม่มีทิศทาง ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าได้ข้อมูลที่มีแนวโน้มอย่างไร ถ้ามีแนวโน้มไปทางใดทางหนึ่งมากพอที่จะยืนยันได้ว่าคำตอบจะเป็นไปทางใดทางหนึ่งให้ตั้งสมมุติฐานแบบมีทิศทาง แต่ถ้าไม่มีข้อมูลมากพอที่จะยืนยันได้ให้ตั้งแบบไม่มีทิศทาง
ตัวอย่างการตั้งสมมุติฐานการวิจัยในชั้นเรียน
นักเรียนชั้นอนุบาล 3 ที่เรียนโดยใช้เพลงประกอบการวาดภาพมีความคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น